จำนวนนับ

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติ


นางสุมาลี ศรีสุขใส
สถานศึกษา/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนบ้านบางตะเภา สพท.นศ.2
ส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ

การจัดการความรู้กับงานห้องสมุด

จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน กำหนดจัดงานเทศกาลเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช 2549 เฉลิมฉลองการครองราชย์ 60 ปี ขึ้น ในระหว่างวันที่ 16 - 25 กันยายน 2549 ณ บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร / ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระจเอยู่หัว อีกทั้งเพื่อส่งเสริมและสืบสานเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีของชาวนครและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งในปีนี้ได้กำหนดให้วันที่ 21 กันยายน เป็นวันแห่หฺมฺรับ ดับที่ย้อนยุค ย้อนเวลาหาอดีตเพื่อสืบทอดปัจจุบันที่งดงามอย่างยั่งยืน
งานเดือนสิบเป็นงานประเพณีวิถีเมืองนคร ที่เชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ โดยเชื่อกันว่าบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำกรรมชั่วไว้มากเมื่อตายไปก็จะไปตกนรก ซึ่งเรยกว่า 'เปรต' จะถูกปล่อยตัวจากนรกในวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมาขอส่วนบุญและจะกลับไปนรกไปวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ในเวลาดังกล่าวนี้ญาติพี่น้องก็จะร่วมกันทำบุญเพื่ออุทิศกุลศลไปให้บรรพชน ซึ่งประกอบด้วยขนม 5 อย่าง คือ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ และขนมไข่ปลา เพื่อเป็นเครื่องปัจจัยสี่ในแดนนรกภูมิ เป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูที่เกี่ยวพันกับความเชื่อทางพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการกินหฺมฺรับ ดับที่ ประเพณีวิถีชีวิตการกินของชาวนคร ผนวกกับกิจกรรมการแสดงแสง เสียง ตำนานย้อนยุค อดีตเมืองนคร โรจน์เรืองเมืองนคร เกียรติบวรใต้ฟ้า พระบารมี ติดต่อกันถึง 5 คืน ตั้งแต่วันที่ 16 - 20 กันายน 2549 ระหว่างเวลา 19.00 น. - 20.00 น. ณ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจมากมาย
จะพาไปเที่ยวเมืองคอน งานเดือนสิบ
Posted by AAd , ผู้อ่าน : 19 , 12:49:09 น. หมวด : ทั่วไป พิมพ์หน้านี้
จะพาไปเที่ยวเมืองคอน งานเดือนสิบ
เอ๊ะ... ฉันหันหลังขวับ ป้ายผ้าตัวโต นครศรีธรรมราช อ้าว คนบ้านเดียวกัน (นี่หว่า) ยังไม่ทันจบบทแรกของเพลงพวกเราก็พบว่าเราตกอยู่ในวงล้อมของคนนครเสียแล้ว พี่ๆ หลายคนเริ่มเลี่ยงออกไปนอกวง เอ...ทำไงดี แต่เลือดจังหวัดนิยมมันพุ่งพล่าน จนฉันต้องร่วมร้องเพลงกับเพื่อนรุ่นลุงๆ ป้าๆ ไปด้วย จนพี่บางคนมองด้วยความขำแกมหมั่นไส้ พี่ชายตัวอ้วนของฉันนั่งหัวเราะไม่ยอมหยุด
“...น้องสาวเหอพี่บ่าวต้องมาแน่นอนจะพาไปเที่ยวเมืองคอนเมื่อตอนงานเดือนสิบ ปีนี้...”
ตามประวัติประเพณีสารทเดือนสิบหรืองานเดือนสิบนี้ เล่าต่อกันมาว่าประเพณีนี้มี วิวัฒนาการมาจากประเพณีเปตพลีของพราหมณ์ที่ลูกหลานจัดเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาพราหมณ์จำนวนมากได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาและยังถือปฏิบัติในประเพณีดังกล่าวอยู่ พระพุทธองค์เห็นว่าประเพณีนี้มีคุณค่าเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ นำความสุขใจให้ผู้ปฏิบัติจึงทรงอนุญาตให้อุบาสกอุบาสิกาประกอบพิธีนี้ต่อไปได้ ประเพณีสารทเดือนสิบมีมาตั้งแต่พุทธกาลคาดว่า เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้ามาในนครศรีธรรมราชจึงรับประเพณีนี้มาด้วย การจัดงานจัดขึ้นระหว่างวันแรม 9 ค่ำ เดือนสิบ ถึงวันขึ้น 3 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด รวม 10 วัน 10 คืน กล่าวได้ว่างานประเพณีที่คนนครต้องกลับบ้านที่สำคัญคืองานเดือนสิบ และถ้าจะรู้ว่าว่าที่ลูกสะไภ้ ว่าที่ลูกเขยของใครเป็นใครก็ต้องรอดูวันนี้ เพราะถือว่าเป็นวันรวมญาติของคนนคร และจะมีการทำขนมเดือนสิบใส่หฺมฺรับ (อ่านว่า หมรับ หมายถึง สำรับ) ประกอบด้วยขนม 5 อย่าง คือ ขนมพอง ขนมลา ขนมสะบ้า ขนมดีซำ และขนมไข่ปลา ไปวัด สมัยก่อนแต่ละบ้านจะช่วยกันทำแล้วเอาไปแจกจ่ายเพื่อนบ้านหรือให้ญาติมิตร และที่สำคัญคือลูกหลานต้องไปหาผู้อาวุโสกว่าทุกบ้าน ช่วงเวลาของการทำขนมใส่หมรับเด็ก ๆ อย่างพวกเราจะสนุกมาก โดยเฉพาะการทำขนมที่พวกเรามีส่วนร่วมได้อย่าง พอง ขนมสะบ้า ขนมดีซำ และ ขนมไข่ปลา พวกเราจะช่วยกันปั้นพอง (ทำด้วยข้าวเหนียว ปั้นเป็นแผ่น ๆ) เอาไปตาก รอให้ผู้ใหญ่มาทอดหรือเรียกว่า “เขี่ยพอง” แต่สำหรับขนมลาต้องเป็นผู้ใหญ่เท่านั้นที่จะทำได้ เพราะยากเกินไปสำหรับเด็ก ๆ อย่างเราปัจจุบันปรับเปลี่ยนมาเป็นซื้อแทนการช่วยกันทำเหมือนเมื่อก่อนที่สนุกอีกอย่างสำหรับพวกเราคือการ “ชิงเปรต” คือ การจัดอาหารไปทำบุญอีกส่วนจะตั้งไว้หน้าวัดเยกว่า “ตั้งเปรต” เพื่อเป็นเครื่องเซ่นให้บรรพบุรุษ เสร็จทำบุญลูกหลานจะมาแย่งกันกินอาหารที่ตั้งไว้ใครได้กินเชื่อว่าโชคดีแต่สิ่งที่เราชอบลุ้นกันมากคือลุ้นกันว่าปีนี้ ญาติๆคนโตๆของพวกเราหรือเพื่อนบ้านจะพาใครมางานเดือนสิบเพราะการพามางานเดือนสิบคือการเปิดตัวอย่างชัดเจน ด้วยเหตุที่ญาติทุกบ้านจะได้เจอกันพร้อมหน้าที่สำคัญคือต้องไปวัดด้วย ที่สำคัญคือ “วัดพระธาตุ” ที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ ดังนั้น การพาใครไปนมัสการพระธาตุจึงเสมือนว่า “เลือกแล้ว” เดือนสิบปีนี้ มีคนนครคนไหนชวนคุณไปไหว้พระธาตุแล้วหรือยัง?
“ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชมีเชื้อชาติไทยพำนักทางปักษ์ใต้ตั้งนครสุนทรสง่ามาแต่ไรปัญญาไวฉลาดเฉลียวเชี่ยวปฏิภาณเคยมีชื่อเด่นชัดในประวัติศาสตร์สืบทายาทตระกูลใหญ่เกียรติไพศาลมีพระธาตุขวัญเมืองเรืองสักการตามตำนานชาติไทยได้มีมาจนบัดนี้ก็ยังมีความดีเด่นสมที่เป็นเมืองสำคัญอันสุดหาสมเป็นด่านด้านใต้ใกล้คงคาพึงรักษาเกียรติไว้คู่ไทยเทอญ”(เพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช)
นานเหลือเกินแล้วที่ไม่ได้ยินเพลงนี้ เชื่อไหมว่าน้อยคนนักที่เกิดเมืองนคร (หรือเมืองคอน แล้วแต่จะเรียก) จะร้องเพลงนี้ไม่ได้ พูดได้เต็มปากว่าคือเพลงที่แสดงออกถึงความภาคภูมิใจของคนนคร แม้ว่าบางครั้งจะถูกค่อนแคะว่าเป็นพวก ‘จังหวัดนิยม’ บ้าง ‘ท้องถิ่นนิยม’ บ้างก็ตามทีตอนฉันยังเด็กเริ่มเข้าประถมฯครูก็สอนให้ร้องเพลงนี้ และร้องอย่างฮึกเหิมมาตลอด ครั้งล่าสุดฉันได้ร้องเพลงนี้ร่วมกับกลุ่มคนนครด้วยกันในม็อบไล่ทักษิณ ตอนแรกพวกเรานั่งรวมกลุ่มกันในมุมๆ หนึ่งของลานพระบรมรูปทรงม้า โดยหารู้ไม่ว่ากำลังมีบางสิ่งคืบคลานมาหาสักพักหนึ่งก็มีกลุ่มคนรุ่นลุงรุ่นป้าคาดหัวด้วยผ้าสีเหลืองเขียนคำว่า “กู้ชาติ” มายืนรวมกลุ่มข้างหลังพวกเราที่กำลังนั่งรอนอนรอฟังการนำของผู้นำม็อบ แต่แล้วเพลงคุ้นหูก็ดังขึ้น
“ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชมีเชื้อชาติไทยพำนักทางปักษ์ใต้…จนบัดนี้ก็ยังมีความดีเด่นสมที่เป็นเมืองสำคัญอันสุดหาสมเป็นด่านด้านใต้ใกล้คงคาพึงรักษาเกียรติไว้คู่ไทยเทอญ...“
งานเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช
งานเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช ๒๕๕๐ เทิดไท้ ๘๐ พรรษามหาราชา วิถีไทย หัวใจแผ่นดิน จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน กำหนดจัดงานงานเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช ๒๕๕๐ เทิดไท้ ๘๐ พรรษามหาราชาขึ้น ในระหว่างวันที่ 5 – 14 ตุลาคม 2550 ณ บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) และศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยกำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม เป็นวันงานที่ยิ่งใหญ่มีการแห่หมรับถือได้ว่าเป็นหัวใจของงานที่มีสีสันตระการตา ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมงานบุญประเพณีที่เต็มไปด้วยศรัทธาและความยิ่งใหญ่ อีกทั้ง เป็นการแสดงความกตัญญุตาต่อบุพการีและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว
องค์พระธาตุนครศรีธรรมราช
งานเดือนสิบ เป็นงานสำคัญในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยความเชื่อทางพุทธศาสนิกชนในเรื่องกฏแห่งกรรม ผู้ที่สร้างบาปกรรมไว้มาก เมื่อตายไปจะกลายเป็นเปรตทนทุขเวทนาชดใช้บาปกรรมนั้น เมื่อถึงวันสารท ชาวบ้าน จึงจัดสำรับคาวหวานไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เรียกกันว่าการทำบุญสารทเดือนสิบ หรือ การยกหฺมฺรับ (อ่านว่ายก-หมับ) การจัดหฺมฺรับไปทำบุญที่วัดนั้น จะประกอบไปด้วยขนม 5 อย่าง ได้แก่
- ขนมลา เปรียบเสมือนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม - ขนมพอง เปรียบเสมือเป็นยานพาหนะให้ผู้ล่วงลับได้ใช้เป็นแพข้ามสู่ภพภูมิใหม่ - ขนมกง อุทิศเป็นเครื่องประดับ - ขนมดีซำ อุทิศเป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย - ขนมบ้า สำหรับวิญญาณผู้ล่วงลับจะได้ใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์
การจำลองหุ่นเปรต ผู้ที่มาขอส่วนบุญช่วงงานเดือนสิบ
การจัดหฺมรับ หรือ สำรับ นั้น มักจะใช้ภาชนะเป็นกระบุงทรงเตี้ย ๆ ใส่อาหารหวานคาวและของแห้ง และจัดขบวนแห่หฺมฺรับของตนไปที่วัดใกล้ ๆ บ้าน เพื่อที่จะถวายพระสงฆ์ ไปวางรวมกันบริเวณริมกำแพงวัดหรือทางเข้าวัด หรืออาจทำเป็นที่ตั้งสูง ๆ ไว้สำหรับให้ทานเรียกว่า “หลาเปรต” โดยจะมีผู้คนแย่งกันไปเอาขนมที่หลาเปรต เรียกว่า “ชิงเปรต” เพราะมีความเชื่อว่าการกินของที่เหลือจากเซ่นไหว้บรรพชนได้กุศล

การแข่งขันปีนเสาน้ำมัน อีกการละเล่นที่มีให้ชมช่วงงานเดือนสิบ
งานเดือนสิบ ได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2466 ปีนี้เป็นปีที่ 84 โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ - วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ประกอบด้วย - การจัดตลาดย้อนยุค - การตั้งเปรต ชิ งเปรต- ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย - การแสดงแสงสีสื่อผสม การประชันหนังตุง การสาธิตและประกวดหุ่นเปรต- สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ - การประกวดเพลงร้องเรือ - กลอนสด โนรา เพลงบอก - การประกวดแข่งขันสาธิตหัตถกรรมพื้นบ้าน - การประกวดนางสาวนครศรีธรรมราช - การจัดแสดงวิพิธทัศนา - การออกร้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP
ททท. สำนักงานภาคใต้ เขต 2 ขอเชิญชวนทุกท่านเที่ยวงานเดือนสิบ เพราะเป็นงานบุญที่เต็มไปด้วยความเชื่อและความศรัทธา นอกจากจะได้กลับมาทำบุญ พบปะญาติพี่น้องแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ได้ร่วมบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยกัน
บทกลอนเกี่ยวกับงานเดือนสิบทำบุญเหอ ทำบุญวันสารทยกหฺมฺรับดับถาด ไปร้องไปฮาพองลาหนมแห้ง ตุ้งแตงตุ๊กตาไปร้องไปฮา สวดเสดเวทนาเปรต....เหอ
***ฝากไว้สำหรับพี่น้องชาวปักษ์ใต้ที่มีภาระ